Unit 5
ประเภทของภาพเคลื่อนไหว
ประเภทของภาพเคลื่อนไหว /17 กันยายน 64
การสร้างภาพเคลื่อนไหว/Animation ด้วยโปรแกรม Flash
การสร้างภาพยนต์ หรือภาพเคลื่อนไหวใด ก็คือการสร้างอิริยาบถของภาพให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา เช่น การวาดการ์ตูนลงกระดาษแต่ละใบให้มีอิริยาบถแตกต่างกันไป เมื่อนําการ์ตูนทุกภาพมาแสดงอย่างรวดเร็ว ก็จะทําให้ภาพมีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว
เมื่อมีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างสรรค์ภาพยนต์ หรือภาพเคลื่อนไหว เฟรมก็เปรียบเสมือนกระดาษแต่ละใบ ที่มีการวาดอิริยาบถของการ์ตูนลงไป และ Timeline ก็คือช่วงเวลาที่ใช้ควบคุมการนําเสนอ ดังนั้น Frame และ Timeline จึงเป็นส่วนสําคัญอีกส่วนในการสร้างภาพเคลื่อนไหวของ Flash
Timeline เปรียบเสมือนเวลาที่ใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว หรือ Movie โปรแกรมจะแบ่งช่วงให้หน่วยละ 5 ช่วงเวลา
Frame คือช่องเล็กที่เรียงต่อกันตามช่วงเวลา แต่จะช่องเปรียบเสมือนกระดาษ 1 แผ่นที่วาด Movie 1 อิริยาบถ และเปลี่ยนไปทุกๆ เฟรม เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของวัตถุ
รู้จักเฟรม และคีย์เฟรม (Frame & Keyframe)
Keyframe คีย์เฟรม
คือ การกําหนดตําแหน่งการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีเนื้อหาภายในแตกต่างกันไปโดยตําแหน่งเฟรมใดที่ต้องการกําหนดให้มีสถานะเป็น Keyframe ให้ใช้คําสั่ง Insert --->Timeline ---> Keyframe หรือกดปุ่ม F6
frame เฟรม .
คือ การกําหนดตําแหน่งภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นการทําฉากหลัง โดยตําแหน่งเฟรมใดที่ต้องการกําหนดให้มีสถานะเป็น Frame ให้ใช้คําสั่ง Insert --->Timeline ---> frame หรือกดปุ่ม F5
Symblo และ Instance
คลิปอธิบาย symbol และ Instance
การเคลื่อนไหวชนิดภาพต่อภาพ (Frame By Frame Animation)
เป็นการแสดงภาพแต่ละภาพที่เรียงต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนดูเหมือนว่าภาพนั้นมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเราจะทำการ Import ภาพที่เราจะสร้าง มาไว้ใน Frame แต่ละ Frame การเปลี่ยนแปลงของภาพแต่ละภาพที่เรียงอย่างต่อเนื่องในลักษณะนี้ เหมาะสำหรับการทำ Animation ที่ซับซ้อน ่มีการเคลื่อนไหวลักษณะท่าทางมาก เช่น ดอกไม้บาน, การงอกของต้นไม้, การบินของนก, การเดินของสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะใช้ภาพจำนวนมาก โดยที่แต่ละ Frame จะใส่ภาพในลักษณะท่าทางต่าง ๆ 1 ภาพ ทำให้เสียเวลา แต่จะทำให้ภาพมีการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริง
2. ภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween
เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของอ็อบเจ็กต์ จากรูปทรงหนึ่งไปเป็นอีกรูปทรงหนึ่งโดยสามารถกำหนด ทิศทาง ตำแหน่ง ขนาด และสีของการเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ
3. Motion Tween
เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีการกำหนดการเคลื่อนที่ หมุน ย่อ หรือขยายให้อ็อบเจ็กต์ เป็นรูปแบบการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ใช้มากที่สุด และโปรแกรมจะกำหนดรูปแบบชนิดนี้เป็นค่าเริ่มต้นของการสร้างภาพเคลื่อนไหวทุกครั้ง โดยโปรแกรมจะสร้างภาพเคลื่อนไหวและเส้นทางการเคลื่อนไหวให้เองโดยอัตโนมัติ
เคลี่อนที่
หมุน
ย่อ ขยาย
เคลื่อนตามเส้น Moton Guide
มาร์ก Layer Mask
3.1 Motion เคลื่อนที่
3.2 Motion หมุน
3.2 Motion ย่อ-ขยาย
3.4 Motion Guide เคลื่อนตามเส้น
3.5 Layer Mask ปิดบังภาพบางส่วน